Home บทความแนะนำ เงินสำรองฉุกเฉินควรมีจำนวนเท่าไหร่

เงินสำรองฉุกเฉินควรมีจำนวนเท่าไหร่

by haraidai

เงินสำรองฉุกเฉิน

เงินสำรองฉุกเฉินควรมีจำนวนเท่าไหร่ เพราะด้วยวิกฤติที่เราได้เผชิญกันมานั้น ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน หนึ่งในนั้นคือ การเงิน ดังนั้น 101หารายได้ เราจะมานำเสนอเงินสำรองฉุกเฉินนั้นสำคัญอย่างไร มาดูกันเลย

เงินสำรองฉุกเฉินคืออะไร

เงินสำรองฉุกเฉิน คือ เงินที่จะช่วยรองรับการใช้ชีวิตในช่วงที่ขาดรายได้ หรือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่ทันคาดคิด ส่วนผู้ที่ไม่มีเงินสำรอง เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินมักหาทางออกด้วยการไปกู้หนี้ยืมสิน หรืออาจทำให้แผนการเงินด้านอื่น ๆ ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็น แผนการเกษียณต้องสะดุดลง เพราะ ต้องนำเงินออกมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายสำรองในปัจจุบันแทน ดังนั้น ทุกคนควรแบ่งเงินบางส่วนเพื่อเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน

เราควรมีเงินออมฉุกเฉินอยู่เท่าไหร่

สำหรับนักวางแผนการเงินจะแนะนำว่า เงินสำรองฉุกเฉินควรมีอย่างน้อย 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ดังนั้นการกำหนดจำนวนเงินออมฉุกเฉิน จึงควรพิจารณาตามเงื่อนไขในชีวิตและปัจจัยต่าง ๆ ของแต่ละคน เช่น

  • ความมั่นคงของรายได้ เมื่ออาชีพการงานไม่ค่อยมีความมั่นคงหรือมีรายได้ไม่แน่นอนในแต่ละเดือน อาจต้องมีเงินออมฉุกเฉินมากกว่าผู้ที่มีรายได้ประจำและมีความมั่นคงของรายได้ต่อเดือน
  • ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เพราะเงินสำรองฉุกเฉินมักถูกนำมาใช้จ่าย เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ เช่น ซื้ออาหาร ซื้อสินค้าอุปโภค ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น หากเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย และไม่มีประกันสุขภาพหรือประกันภัยที่ครอบคลุม ก็ต้องแบ่งเงินบางส่วนมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษา
  • สินทรัพย์อื่นที่มี เพราะเงินสดเป็นเงินสำรองฉุกเฉินแล้ว สินทรัพย์อื่น ๆ ก็สามารถนำมาเป็นเงินฉุกเฉินได้เช่นกัน เช่น เงินลงทุนในกองทุนรวม เงินฝากประจำ
  • ปัจจัยอื่น ไม่ว่าจะเป็น ผู้ที่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองควรมีเงินออมฉุกเฉินเพิ่มเติม เพราะอาจจะมีค่าซ่อมบำรุงที่อยู่อาศัยมากกว่าการเช่า และหากเป็นเสาหลักในการหารายได้ของครอบครัวก็ควรต้องมีเงินออมฉุกเฉินเพิ่มด้วย

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เงินสำรองฉุกเฉินที่เตรียมไว้อาจไม่พอ ต้องทำอย่างไร

เพราะในบางสถานการณ์เงินออมที่เตรียมไว้อาจไม่เพียงพอ สิ่งแรกที่ทำได้ คือ การทบทวนสถานะทางการเงินของตัวเอง และทำการปรับลดค่าใช้จ่ายให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เป็นการยืดเวลาในการรับมือกับสถานการณ์ให้ได้นานที่สุด หากสถานการณ์ไม่เอื้อให้หารายได้เพิ่ม ทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องก็ขายมาใช้หมดแล้ว อาจต้องพิจารณาขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

สร้างภูมิคุ้มกันด้วยการเงินสำรองฉุกเฉิน โดยเริ่มจากกำหนดจำนวนเงินเป้าหมายที่ต้องการ ต่อมาสร้างแผนการออมแบบอัตโนมัติด้วยการออมก่อนใช้อย่างสม่ำเสมอ สุดท้ายเลือกรูปแบบการเก็บเงินสำรองที่มีความปลอดภัยและมีสภาพคล่องสูง  ทั้งหมดนี้เป็นการป้องกันปัญหาทางการเงินได้ไม่ยาก

ติดตามบทความมากมายใน โปรทั่วไทย

เรื่องที่คล้ายกัน

Leave a Comment